โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ค้นหา
ปรับขนาดตัวอักษร
ภาษา
ประวัติความเป็นมา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 (สุพรรณบุรี – นครปฐม)
สืบเนื่องจาก มติที่ประชุมสภาการศึกษา ครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552
เห็นชอบหลักการให้มีเขตพื้นที่การศึกษา(มัธยมศึกษา) โดยให้ดำเนินการเสนอแก้ไข กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการประกาศจัดตั้งเขตพื้นที่ การศึกษา (มัธยมศึกษา) สำหรับจำนวนเขตพื้นที่การศึกษา (มัธยมศึกษา) ควรสอดคล้องกับพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบบกลุ่มจังหวัด จำนวน 18 กลุ่ม และ กรุงเทพมหานคร 1 กลุ่ม
โดยให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปดำเนินการ รวมทั้ง มาตรการระยะสั้นก็ให้ดำเนินการไปพลางก่อนเท่าที่มี่ไม่ขัดกับกฎหมาย

ดังนั้น เพื่อให้การจัดการมัธยมศึกษาได้ขับเคลื่อนต่อไปอย่างมีคุณภาพและ เป็นไปตาม มติของสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดมาตรการระยะสั้นในการดำเนินงานเพื่อยกระดับคุณภาพการมัธยมศึกษา และ การบริหารงานบุคคล โดยมาตรการระยะสั้นดังกล่าวกำหนดให้จัดตั้งศูนย์ประสาน งานการจัดการมัธยมศึกษา ให้มีเครือข่ายการนิเทศการมัธยมศึกษา และกำหนด ตัวบ่งชี้คุณภาพความสำเร็จการจัดการมัธยมศึกษา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการเห็นชอบในมาตรการระยะสั้นและได้ประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดศูนย์ประสานงานการจัดการมัธยมศึกษา เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2552 และสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดทำแนวทางการบริหารจัดการศูนย์ประสานงานการจัดการมัธยมศึกษา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกำหนดเป็นเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ประวัติความเป็นมา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม 2564 ได้แก่จังหวัดสุพรรณบุรี ทำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ติดตามการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษา่จังหวัดสุพรรณบุรี รวม 10 อำเภอ จำนวน 32 โรงเรียน ให้สามารถ จัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาเพื่อบริการประชาชนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม เป็นคนเก่ง มีความรู้ความสามารถ มีคุณภาพตรงตามจุดเน้นและเป้าหมายของคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และความต้องการของชุมชนและของประชาชน จังหวัดสุพรรณบุรี บริหารจัดการในรูปแบบองค์คณะบุคคลบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล
วิสัยทัศน์
"องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ สร้างคนดี
มีความสุข ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"

พันธกิจ
   1.  ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ และน้อม นำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ
    2. พัฒนาหลักสูตรที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริม ความเป็นเลิศทางวิชาการและการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
    3. พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีความสุข มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีโอกาสเข้าถึงและได้รับ บริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม โดยไม่เลือกปฏิบัติ
    4. ส่งเสริมการอ่าน และการเรียนรู้อย่างหลากหลายตลอดชีวิต บนพื้นฐานความเป็นพลเมืองดี และประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    5. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นมืออาชีพ มีสมรรถนะตามมาตรฐาน วิชาชีพ และมีคุณธรรมจริยธรรม รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก
    6. ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมทางการศึกษา และระบบบริหารจัดการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มโอกาสให้ครูและ บุคลากรทางการศึกษา
    7. พัฒนาระบบโครงสร้างและระบบบริหารจัดการศึกษาทุกระดับให้มีความปลอดภัยและเอื้อต่อ การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
    8. ส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    9. พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลรองรับการเปลี่ยนแปลง ของโลก
วิสัยทัศน์
“บางคูวัด เมืองแห่งคุณภาพ”
การพัฒนาเทศบาลเมืองบางคูวัด เป็นแบบผสมผสาน มุ่งพัฒนาเป็นเมืองบ้านพักอาศัย เมืองอุตสาหกรรมสะอาด และเมืองเกษตรกรรมดั้งเดิม ยึดคนเป็นศูนย์กลาง อาศัยความเข็มแข็งของชุมชนเป็นฐานรากในการพัฒนา มีเศรษฐกิจฐานรากที่เข้มแข็ง มีระบบบริหารจัดการที่ดี วิถีชีวิตที่ดี มีความสุข โดยเน้นให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น ตามวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นเมืองบางคูวัด เมืองแห่งคุณภาพ
ยุทธศาสตร์
1. ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐาน
2. ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
3. ยุทธศาสตร์ด้านการบำรุงรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
4. ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ศิลป์ วัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจ
6. ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ
7. ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว